เทศกาลและงานประเพณี

เทศกาลและงานประเพณี เทศกาล ของชาวเนปาลส่วนมากจะมีความเกี่ยวพันกับศาสนา (ส่วนใหญ่เป็นศาสนาฮินดู) ซึ่งจะจัดขึ้นตามปฏิทินทางจันทรคติ  มีตลอดทั้งปี ทั้งที่เกี่ยวกับตัวบุคคล  สถานที่  เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์   (เดือนมาเก  Madha) ๑. มาเกสังกรานติ (Magha Sankranti) เป็นวันสงกรานต์ของเนปาล  ประชาชนจะออกมาจากบ้าน ร่วมในพิธีอาบน้ำเพื่อล้างความอัปมงคล และต้อนรับฤดูแห่งความอบอุ่นที่จะมาเยือนในไม่ช้า ๒. พิธีมหาสนาน (Maha Snan) เป็นพิธีสรงน้ำพระศิวะ  จัดขึ้นที่วัดปศุปตินาถ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ น้ำนม  โยเกิร์ต น้ำผึ้ง เนยบริสุทธิ์  และเครื่องฉลองพระองค์ เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม (เดือนฟาลกุน Falgun) ๑. งานโลซาร์ (Losar) เป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวทิเบตในเนปาล  ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการเต้นรำทำเพลง ระบำลามะ  พร้อมด้วยการเดินแห่รอบบริเวณมหาสถูปโพธินาถ และมหาสถูปสวยมภูนาถ  ในงานจะมีการลงสีและประดับประดาสถูปทั้งสองอย่างงดงาม ๒. ศิวะราตรี เป็นงานฉลองวันประสูติของพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพแห่งการสรรสร้างและทำลายล้าง  โดยผู้แสวงบุญนับหมื่นจะพากันเดินทางมาวัดปศุปตินาถเพื่อเข้าร่วมงานฉลองดัง กล่าว ๓....

เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปแสวงบุญ

เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปแสวงบุญ ***** สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ผู้ เดินทางมาบูชาพระพุทธเจ้า ตามพุทธสถานในพุทธภูมิ ล้วนแล้วก็มากันด้วยพลังศรัทธาอันเกิดจากพุทธวจนะที่ทรงชี้นำทาง เหมือนว่าเชิญชวน หรือให้โอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีๆ แก่ชีวิต โดยนำสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง มาเป็นสื่อการเข้าถึงพระรัตนตรัย ตามที่พระอานนท์ ทูลถามก่อนเสด็จปรินิพพาน ณ ที่สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา ว่า ในกาลก่อน พุทธบริษัทในทิศทั้งหลาย ต่างพากันมาเพื่อเฝ้าพระตถาคต ย่อมได้เห็น ได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุผู้ใหญ่เจริญใจเหล่านั้น ก็แต่ว่าเมื่อกาลล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  จักไม่ได้เห็น  จักไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุผู้ใหญ่เจริญใจเหล่านั้นอีก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นที่ควรเห็นของ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ด้วยระลึกว่า:-         - พระตถาคตประสูติในที่นี้ ๑ - พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ๑ -พระตถาคตยังธรรมจักรให้เป็นไปแล้วในที่นี้ ๑         -พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ๑ ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใด เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์สถานที่เหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส   ชนเหล่านั้นทั้งหมด...

สวนป่า ไม้นานาพันธุ์

         อุทยาน ลุมพินีวัน  ในเครั้งพุทธกาลอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้หลากสายพันธุ์  ในคราวที่ออกดอกบานสะพรั่ง มีสีงามหลากหลาย หมู่แมลงภู่ผึ้งต่างชมสีและเกสรของดอกมีเสียงดุจมโหรี  ไพเราะจับใจยิ่งนัก จึงเป็นที่ร่มรื่นเป็นรมณียสถาน ที่ควรแก่การพักผ่อน และร่วมละเล่นของเหล่าเชื้อพระวงศ์ ทั้งศากยวงศ์เมืองกบิลพัสดุ์และโกลิยวงศ์เมืองเทวทหะ  เมื่อถึงคราวงานนักขัตฤกษ์ เช่น วันเพ็ญเดือนวิสาขะ  วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ  วันเพ็ญเดือนมาฆะ  เป็นต้น ก็จะมารวมกัน ณ ที่อุทยานหลวงนี้ ในปัจจุบัน  อุทยานลุมพินี ได้รับการฟื้นฟูดูแลให้มีความเป็นธรรมชาติดุจครั้งพุทธกาล  มีการปลูกป่าไม้นานาพันธุ์  เช่น สาละ ประดู่ลาย  ซึ่งเป็นไม้ในพุทธประวัติ เพื่อเป็นพุทธบูชา  สาละ  เป็นคำสันสกฤต  อินเดียเรียกต้นสาละว่า  "Sal" เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง  ท้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้           ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการที่กรุงเทพวทหะ...

ปฏิมากรรมนำพุทธศาสนา

ปฏิมากรรม นำพุทธศาสนา สู่เนปาล เพื่อประดิษฐานตามศาสนสถาน ในบริเวณกบิลพัสดุ์-เทวทหะ               เนปาลเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก่อน ปัจจุบันถูกศาสนาอื่นรุกราน และบดบังไปบ้างเท่านั้นเอง คนท้องถิ่นยังใฝ่แสวงหาสันติธรรม ซึ่งเป็นทางที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ไว้แล้ว พระพุทธศาสนาในความรู้สึกของชาวเนปาลแล้ว ถือว่าเป็นศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นจากลุมพินี ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของพระพุทธเจ้า ชาวบ้านยังเสาะแสวงหา พุทธศาสนาที่นับถือตามหมู่บ้าน ตามเรือน ที่อาศัย ของตน จึงมีจำนวนชาวพุทธเพิ่มขึ้นทุกปีๆ จากที่ได้รับนิมนต์ไปสวดมนต์ ให้ศีลให้พร บวชลูก โกนจุกหลาน หรืองานประเพณี ที่มีการชุมนุม จะมีภาพพระพุทธเจ้า หรือพระองค์น้อยๆ ที่สร้างด้วยไม้ ปูน หรือดิน มีผู้พบเจอเข้าเกิดศรัทธาบริจาคปัจจัยให้ช่วยสร้างพระพุทธรูป แบบไทยๆ ที่ทรงความงามในปฏิมากรรม ไปเป็นมิ่งขวัญที่สักการะบูชา เป็นพระประธานประจำหมู่บ้าน หรือเป็นพระพุทธปฏิมากรประจำพุทธวิหาร โครงการนี้จึงตั้งขึ้นเพื่อรับพระพุทธรูปไปมอบให้ที่มีชุมนุมชาวพุทธใหม่ ในที่ต่างๆ โดยนัดหมายให้ผู้ต้องการพระพุทธรูปมาขึ้นทะเบียนไว้ และมาเรียนการสวดมนต์แบบไทยๆ ทุกวันอาทิตย์ ๒ ชั่วโมง ๑๒ อาทิตย์ รวมเป็น ๒๔...

โอวาทให้ ริชาร์ด เกียร์

พุทธเจ้า......เป็นผู้เลิศทีสุดในโลกพุทธเจ้า......เป็นผู้เจริญที่สุดในโลก พุทธเจ้า......เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ริชาร์ด เกียร์ เธอมีบุญจึงได้มีพระพุทธเจ้าไว้เป็นที่พึ่ง ริชาร์ด เกียร์ เธอมีบุญจึงได้พบพุทธศาสนาและมีศาสนาพุทธไว้ประจำใจตน ริชาร์ด เกียร์ เธอมีบุญจึงได้เดินทางมาทำบุญถึงวัดไทยลุมพินีแห่งนี้ ขอมอบพระสิทธัตถะราชกุมาร หรือตามที่นิยมขานพระนามว่าพระเบบี้บุดด้า ๙๗๙ ไว้เป็นเครื่องเตือนจิตให้พินิจถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์อยู่เป็นนิจ ชีวิตของเธออยู่ในโลกสมมติ  บนถนนของการแสดงทั้งนั้น  มีเครื่องปรุงแต่งให้มีลีลา  วาจา  และความเคลื่อนไหวไปตามกระแสโลกการแสดงเป็นไปตามแบบ การพูดจำจากคำที่เป็นไปตามบท ท้วงทีลีลาเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ผู้กำกับจะให้เราทำอาศัยปัญญาความรู้รอบประกอบด้วยจินตนาการ และฉันทะความพอใจในการแสดง ขอเธอนำพุทธธรรมมากำกับจิตแห่งตน เธอจึงมีความสำเร็จในการแสดงเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก พระ พุทธเจ้าปางประสูตินี้จะเป็นคุณเครื่องชี้นำในทางที่เป็นกุศล ยึดคำในพระอาสภิวาจาธรรมที่ทรงแสดงในวันประสูติ ขอเธอจงเป็นผู้ครองความเป็นหนึ่ง จงเป็นผู้มีความเจริญ และถึงซึ่งความประเสริฐตามคำพระพุทธองค์ทรงสอน และขอให้เธอจงนำสื่อนี้ไปประกาศพุทธธรรม ทำหน้าที่ธรรมทูต คือช่วยเราเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แผ่ไพศาลสืบไป พระราชรัตนรังษี ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓

สุข ๓ แบบ แอบอยู่สองข้างทาง

สุข ๓ แบบ แอบอยู่สองข้างทาง       มองสองข้างทางก็ไม่เห็นมีอะไรมากมาย  นอกจากบ้านทรงแขกๆ ไปไหน  ทางใด  ในเส้นทางแสวงบุญ  ต้นทุนชีวิตของชาวบ้านชาวเมืองก็ไม่ต่างกันสุดขั้ว  คนเหล่านี้จึงอยู่ร่วมกันได้อย่างสบาย  เพราะมีต้นทุนในความเหมือนที่คล้ายคลึงกัน  สุขก็สุขไม่ห่าง  ทุกข์ก็ทุกข์ไม่ไกล  ความสมดุลที่คอยไกล่เกลี่ยให้ชุมชนเล็กๆ กลายเป็นชุมชนเข้มแข็งได้อย่างชัดเจน ความสุขความทุกข์ที่เราพอมองเห็นได้  ไม่ต้องมีกล้องส่องขยายก็แลเห็น  ในสิ่งที่เขามีเขาเป็น  สิ่งที่เขาวิวัฒน์พัฒนาตามรูปแบบเขาเอง  ความสุขที่ไม่ซุ่มซ่าม  รุ่มร่าม  รุงรัง  กระทั่งคลั่งในความสุขแบบฉาบฉวย  สิ่งที่จะช่วยให้เขามีสุขจีรัง  ต้องหันหน้าหันตามาพัฒนาความสุขของคน  มากกว่าการพัฒนาวัตถุ  แล้วความสุขจะเข้าสู่วิถีแห่งการแบ่งปัน  มากกว่าสุขที่ได้จากการแข่งขัน  ช่วงชิง ล้อรถกำลังหมุน  ต้นทุนทางสายตากำลังสูง  จิตของเรากำลังโปร่ง  มองสองข้างทางโล่งไม่ผูกมัดมาช่วยกันนั่งจัดความสุขที่ระบายทั่วสองข้างถนน  ที่แอบอยู่สองข้างทางและที่ซุกซ่อนอยู่ในตัวคนว่า ๑.สุขแบบแย่งกันสุข       ถ้าเขาสุข เราก็ทุกข์  สุขเกี่ยวกับวัตถุ ต้องได้ ต้องเอา เราได้สุข เขาเสีย เขาสุข    เรา ทุกข์ ต้องแย่งกันได้ต้องเอา...

ปรัชญา…อันว่า สุขาวดี ๑ (ปฐมเหตุ)

ปรัชญา...อันว่า สุขาวดี ๑ (ปฐมเหตุ) คนไปอินเดีย จะสุขก็สุขได้ทุกเรื่อง เรียกว่ามีอิสระจะเลือกสุขทุกข์ได้ตามใจ แต่ถ้าจะเป็นความทุกข์ ก็เห็นจะเรื่องเดียวแท้ ๆ ที่ใหญ่และใกล้ตัวที่สุด พอทุกข์ปรากฏ ขนลุกขนชันขึ้นมา คงเลือกที่เลือกทางไม่ได้ เป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า ความทุกข์ที่เกิดจากการปวดหนักปวดเบา จะหาที่เข้าห้องน้ำเพื่อย้ายถ่ายเทออกไป ก็ยากยิ่งกว่าหาสวรรค์เสียอีก แม้แต่เราเองก็ยังต้องทนกลั้นเวทนามานักต่อนักแล้ว ยิ่งตอนที่ชายแดนมีรถติดมากยาวเหยียดเป็นกิโล ต้องนั่งเดือนร้อนทนทุกข์ เพราะหาที่ปลดทุกข์ไม่ได้นั่นเอง ในบริเวณนั้น ๆ มากด้วยร้านรวง ผู้คนอลหม่าน จะหาป่าละเมาะพอเหมาะกำบัง ก็ยังยาก (ถ้าไม่เกิดกับตน ก็จะไม่เห็นความจำเป็น) ด้วยเหตุนี้ จึงตัดสินใจหาที่ดินสร้างสุขา เพื่อปลดเปลื้องเวทนาทางธรรมชาติให้ท่านผู้แสวงบุญได้ใช้สอย ถ้าสร้างวัดสร้างวาคงมีผู้ร่วมอนุโมทนาหลากหลาย แต่นี่จะสร้างส้วมสุขาจะพึ่งใครได้ จึงต้องร้องขอเทวดาผู้มีหูตาทิพย์ ไปเชิญเศรษฐีใจบุญ นายทุนใจดี ผู้มีศรัทธามาช่วยกันลงขัน ทำบุญสร้างที่ปลดเปลื้องความทุกข์ให้พี่ญาติพี่น้องของเรา วาทะธรรมร้อยวาทะธรรมะปิดทอง,พระธรรมโพธิวงศ์(วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาลภาพ,พิมพ์ : วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล      ...

ดูอย่างที่เขาเป็น เห็นตามที่เราดู รู้ตามความเป็นจริง

ดูอย่างที่เขาเป็น เห็นตามที่เราดู รู้ตามความเป็นจริง             ถนนหนทางที่รถแสวงบุญของพวกเรา  กำลังวิ่งอย่างเอาจริงเอาจัง  ประคับประคองมิให้กระทบกระเทือนสมาชิกบนรถ  ให้ต้องหัวสั่นหัวคลอน  จะได้ฟังวิทยากรบรรยายให้ถึงอกถึงใจ  มาอินเดียเสียเงินเป็นหมื่นๆ ควรตื่นอยู่ตลอดเวลา  นั่งบนรถหลับตาเมื่อไหร่ขาดทุนเมื่อนั้น  การตั้งตาดู  ตั้งหูฟัง  ตั้งใจจดจ่อ  จะก่อกำไร  ประสงค์สิ่งใดทั้งใกล้และไกล  สมหวังดังประสงค์ ชี้ชวนชม  ประพรมด้วยน้ำพระธรรม  พระท่านบรรยายขยายความ  โยมตั้งใจฟังอย่างไม่ลดละ  เคยถามว่า  วันนี้ทำไมตั้งใจฟังกว่าวันก่อน  ผู้ฟังบอกว่าสงสารพระท่าน  นั่งบรรยาย  ยืนบรรยาย  คุณหญิงคุณชายทั้งหลายหลับเกือบทั้งคัน  หลายท่านสะดุ้ง  พร้อมทั้งส่งเสียงพลุ่งมาข้างหน้าว่า  หลับตาก็ยังตั้งใจฟังอยู่  ยังไม่ได้หลับ  แต่จับใจความไม่ตลอด  เพราะบางครั้งยังสลึมสลือ  นี้เป็นบรรยากาศของการแสวงบุญที่ชาวพุทธเราติดอกติดใจ  ฟังธรรมะ  สวดมนต์  จนพ้นจากขอบนรกได้ ไม่ธรรมดา  จะฟังธรรมและสวดมนต์จนกว่าจะเห็นสวรรค์หย่อนบันไดลงมารับ ดูสองข้างทางด้วยความตั้งใจ  บางท่านเห็นแขกบ้านเล็กๆ นั่งขายของร้านจิ๋วๆ เขาคงมีความทุกข์ระทมขมขื่นนแน่ๆ เลย เห็นไหม  เราเห็นทุกข์ของคนอื่น ...

ศาสนสถานคืองานเบื้องต้นที่ต้องทำ

วันที่พวกเราได้รับ คำสอนที่หลวงพ่อสมเด็จฯ  เมตตาประทานให้ในวันนั้นสุดยอดแห่งโอวาท  ทั้งความปรารถนาดีทั้งความห่วงใย  ทั้งกำลังใจ  และข้อแนะนำฝากฝัง  สมบูรณ์อย่างยิ่ง  ในเนื้อหานั้นๆ  ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ถอดความลงในหนังสือในคราวต่อไป  ที่จะกล่าวในบัดนี้  ก็คือวัดไทยลุมพินีจะจัดสร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชไว้ให้รูปแบบวัดสมบูรณ์ตามผังที่สำนักงานพระพุทธศาสนาวางแปลนไว้  โดยปรารภความเป็นสิริมงคลในนามของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์  หลวงพ่อสมเด็จของพวกเราทุกท่าน  ขยับจับงานนี้มาสองสามปีแล้วยังมีลีลาทีท่าไม่ค่อยลงเนื้อลงตัว  เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองของเนปาล  อะไรก็ไม่รู้ลมเพลมพัด  ปัดไปปัดมา  ทำให้การนัดหมายกับการที่จะลงไม้ลงมือพลอยอ่อนระโหยโรยแรงไปด้วย  มาคราวนี้มีวาระที่จะต้องจริงจังจัดการให้ลงตัวเสียที  เพราะองค์ประกอบพร้อมแล้ว  หนึ่ง โอกาสอันเป็นมงคลของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ  สอง ผู้เป็นทานบดี  ท่านผู้อำนวยการใหญ่แห่งธนาคารออมสิน  ท่านกรพจน์  อัศวินวิจิตร  ได้บริจาคปัจจัยไว้  ๕ ล้านบาท  โดยท่านปรีชา  เลาหพงษ์ชนะ  ร่วมอนุโมทนาสาธุอีกแรงหนึ่ง  และยังมีคุณหญิงรัตนาภรณ์ มูลสุวรรณ  คุณจินตนา กับอีกหลายท่านเป็นรายย่อย ช่วยทำบุญไว้ คราวนี้  ได้ความมั่นใจ  ข้อที่สามคือ  ความพร้อมของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ในฐานะผู้กำกับดูแลการก่อสร้างวัดไทยลุมพินี  ได้มอบหมายให้  ท่านนพรัตน์ ...